วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

4. วิธีการป้องกัน EMF

ในเมื่อชีวิตเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัส EMF ได้ เราก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ โดยไม่ให้มันทำร้ายเรา  สำหรับคนที่ไม่รู้สึกว่า ตัวเองได้รับผลกระทบกับสุขภาพ จาก EMF อาจไม่ต้องสนใจก็ได้ ไว้รอให้รู้สึกว่า มันเริ่มมีผลกระทบกับสุขภาพ ค่อยกลับมาอ่านอีกที  เพราะจากที่กล่าวมาแล้วว่า มีคนประมาณ 3 % ที่รู้สึกถึงผลกระทบจาก EMF ค่อนข้างมาก คือเป็นกลุ่มคนที่ไวต่อ EMF

ขอแบ่ง EMF จากแหล่งที่มากระทบเราเป็นหลัก คือ

1. EMF ที่มาจากภายนอก ได้แก่ เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เสาส่งสัญญาณ WiFi  หม้อแปลงการไฟฟ้า  สายไฟฟ้าที่เดินตามข้างถนน สายไฟฟ้าแรงสูง  EMFจากห้องพักที่อยู่ติดกับห้องของเรา

2. EMF ที่อยู่ภายในบ้านหรือที่ทำงานของเราเอง ได้แก่ เตา Microwave  WiFi Router  โทรศัพท์มือถือ  คอมพิวเตอร์ Notebook และ Desktop  ตู้เมนไฟฟ้า  สายไฟฟ้า  อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ

3. EMF ในรถยนต์

การจะป้องกัน EMF ให้ได้ผล ดีที่สุดคือ ต้องมีเครื่องวัด EMF หรือ Smog meter เพราะจริงแล้ว ถ้าไม่วัด เราก็มองไม่เห็นว่า มันมีค่ามากแค่ไหน และสิ่งที่เราทำไปมันได้ผลหรือไม่  ถ้าใครมีปัญหาสุขภาพจริงๆ และหาสาเหตุของปัญหาไม่เจอ และอยากทราบว่า ปัญหาเกิดจาก EMF หรือไม่ ก็คงต้องลงทุนซื้อเครื่องวัด EMF แล้วหาทางปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ค่า EMF บริเวณที่เราอยู่ประจำ ให้ต่ำกว่า 0.18 mW/m2 จะดีที่สุด โดยเฉพาะจุดที่เราอยู่นานๆคือ ที่นอน ที่นั่งทำงาน ที่นั่งเล่น เพราะ 3 จุดนี้ เราใช้ชีวิตอยู่กับมันวันหนึ่ง อาจถึง 20 ชม.แล้ว ถ้า 3 จุดนี้มีค่า EMF สูงเกินไป คุณจะค่อยๆป่วยแบบไม่รู้ตัว  ทีนี้ถ้าไม่มีเครื่องวัด EMF หรือยังไม่อยากลงทุน ก็คงต้องใช้วิธีป้องกันแบบเดาสุ่ม ซึ่งคงได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

ถ้าแบ่ง EMF แบบง่ายๆในแง่การป้องกัน ตามย่านความถี่ อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. RF เป็นย่านความถี่ Radio Frequency ซึ่งใช้คลื่น Microwave เป็นหลัก  เป็นช่วงคลื่นความถี่สูง ซึ่งหน่วยงานที่กำหนดมาตราฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ปล่อยคลื่นพวกนี้ จะกำหนดค่า SAR Value (Specific absorption rate) ว่า โทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์อื่นๆ ห้ามปล่อยพลังงานออกมาเกินเท่าไร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้  ความถี่ย่าน RF นี้ เราสามารถบล๊อกได้ด้วย โลหะ หรือผ้าที่เส้นใยมีส่วนผสมของโลหะ  หรือมุ้งลวดอลูมิเนียม

2. LF เป็นย่านความถี่ Low Frequency ส่วนมากจะปล่อยออกมาจากพวกสายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า ตู้เมนไฟฟ้า  ความถี่ย่าน LF นั้นบล๊อกได้ยากมาก ใช้โลหะปกติก็บล๊อกไม่อยู่  ถ้าจะบล๊อก LF กันให้ได้จริงๆ ก็คงต้นทุนสูงมาก  วิธีหลีกจาก LF คือ อยู่ห่างๆพวกอุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟ ทุกอย่าง ให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ไกลแค่ไหน กำหนดชัดไม่ได้ ขึ้นกับพลังงานของแหล่งกำเนิด LF  เช่น ถ้าเป็น adaptor ชาร์ทมือถือ คุณอาจอยู่ห่างสัก 1 เมตร ก็พ้นรัศมีแล้ว  แต่ถ้าเป็นหม้อแปลงของการไฟฟ้า หรือสายไฟฟ้าแรงสูง คุณอาจต้องอยู่ห่างมันถึง 50 เมตร หรือ เป็น 100 เมตร เพราะมันมีผลต่อการเบี่ยงเบนสนามแม่เหล็กโลกด้วย นอกจากคลื่นที่มันปล่อยออกมารอบๆตัว  ดังนั้น สำหรับ LF หลักการคือ อยู่ห่างๆอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มากที่สุด  อยู่ใกล้ หรือ สัมผัส เฉพาะเท่าที่จำเป็น

ถ้าไม่มี Smog meter คุณก็ต้องสืบหาว่า มีแหล่ง EMF นอกบ้านหรือไม่ คุณต้องสำรวจบริเวณรอบบ้าน ในรัศมี 300 เมตร ว่ามีเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือหรือไม่ ถ้ามีอยู่ทิศไหน  ถ้าคุณจะบล๊อก EMF จากเสาส่งสัญญาณ  คุณสามารถทำได้โดยใช้ Foil ที่ใช้กันความร้อนใต้หลังคา มีขายเป็นม้วนๆ เอามาติดที่ผนังบ้านด้านที่เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์อยู่  ส่วนบริเวณที่เป็นหน้าต่าง ใช้มุ้งลวดอลูมิเนียม ห้ามใช้มุ้งลวดพลาสติก  เท่านี้คุณก็จะสามารถบล๊อกคลื่น RF จากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ที่จะเข้ามาในบ้านได้เหลือระดับที่ปลอดภัย และคุณยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้อย่างไม่มีปัญหา

อย่างต่อไปคือ RF ที่มาจาก WiFi  ถ้าเป็นบ้านเดี่ยว คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นทาวน์เฮ้าส์  อาคารพาณิชย์ คอนโด ห้องเช่า  คุณอาจได้รับคลื่นจาก WiFi Router หรือ เตา Microwave ของเพื่อนบ้าน  ยิ่งถ้าผนังห้องอีกด้านของเพื่อนบ้าน วาง WiFi Router ไว้ แต่ผนังห้องฝั่งของเราเป็นหัวเตียงนอนของคุณ หรือที่นั่งทำงานประจำ  คุณก็จะเริ่มป่วยโดยหาสาเหตุไม่เจอ  ถ้ามีเครื่อง Smog meter วัดทีเดียวก็รู้ว่า EMF มันแรงมาจากผนังส่วนไหน  ถ้าไม่มี คุณก็ต้องใช้วิธีอื่น เช่น อยู่ในห้องตัวเองแล้วใช้โทรศัพท์มือถือ Scan หาสัญญาณ WiFi  ถ้าเจอสัญญาณ WiFi แรงๆ แต่ไม่ใช่ของคุณ คุณก็ต้องนึกไว้ว่า มันมาจากห้องอื่น ซึ่งอาจเป็นห้องข้างๆ ห้องข้างบน หรือห้องข้างใต้  เวลาคิดถึง EMF คุณต้องคิดถึงมันทุกทิศทาง  ถ้าเตียงที่คุณนอน อยู่ชิดผนังซึ่งติดกับห้องคนอื่น แล้วไม่แน่ใจว่าจะมี EMF ทะลุมาหรือเปล่า ก็ติด Foil ที่กำแพงด้านนั้นซะ  ถ้ากลัวไม่สวย ก็ให้ช่างมาทากาวติดแบบ Wall Paper เลย แล้วหา Wall Paper สวยๆปิดทับอีกที  หรือถ้าไม่แน่ใจว่า ผนังด้านนั้น ห้องที่ติดกันวาง WiFi Router หรือ Microwave ไว้หรือเปล่า ก็ลองเดินไปเคาะห้องข้างๆ ถามดูเลย ง่ายดี ติดของฝากไปหน่อยก็ได้ ผูกมิตรไว้  แล้วก็ให้เค้าอ่าน Blog นี้ จะได้ระวังตัวไปด้วยกัน

ง่ายมั้ยครับ RF จากนอกบ้าน ป้องกันง่ายนิดเดียว แค่มี Foil ที่ใช้มุงหลังคา เอามาติดแทน Wall Paper ด้านที่ RF ทะลุเข้ามา

ที่นี้แหล่ง RF จากในบ้าน เริ่มที่เตา Microwave อยากจะบอกทุกท่านว่า ให้เตือนแม่ครัว และคนรักของท่าน เวลาเปิดเตา Microwave ให้เดินออกห่างจากเตาอย่างน้อย 5 เมตร ถ้าจะให้ดี 10 เมตรเลย เพราะผมวัดค่า RF มาแล้วกับ เตา Microwave อย่างน้อย 2 ยี่ห้อ เวลาเปิดเครื่อง ค่า RF บริเวณหน้าเตา ขึ้นไปทะลุ Scale เครื่องวัด Smog meter เลย ต้องเดินถอยออกมาประมาณ 10 เมตร ค่าจึงลดระดับมาในระดับที่ต่ำ  นั่นแปลว่า แม่บ้านที่อยู่ ในห้องครัว และทำอย่างอื่นไปเรื่อยๆ ขณะที่เปิดเตา Microwave จะได้รับอันตรายจาก EMF อย่างรุนแรง

อย่างถัดไปคือ WiFi Router ที่คนส่วนใหญ่ชอบหาซื้อแบบแรงๆ เสายาวๆ หลายๆเสา และมักเอาไปวางตรงที่สะดวก โดยเฉพาะตรงคอมพิวเตอร์ จะได้ไม่ต้องลากสาย Lan ไกล  นั่นคือสิ่งที่อันตรายที่สุด  ขอบอกเลยว่า ค่า RF รอบๆเครื่อง WiFi Router จะวัดค่าได้ประมาณ 50-100 mW/m2 ขึ้นอยู่กับรุ่นของ WiFi Router  คงจำได้ว่า ค่าที่ปลอดภัย ควรอยู่ไม่เกิน 0.18 mW/m2  ดังนั้น ควรหาที่ตั้ง WiFi Router ในตำแหน่งที่ห่างจากจุดที่เรานั่งทำงาน หรือใช้ชีวิตประจำวันนานๆ อย่างน้อย 3 เมตร  และไม่ควรใช้ WiFi Router รุ่นเสายาว และหลายเสา เพราะ ถ้าใช้รุ่นนั้น ห่างออกไปประมาณ 6 เมตร ยังมีระดับที่อันตรายเลยครับ เท่าที่วัดดู  ในกรณีที่เราไม่อยากให้ RF จาก WiFi Router พุ่งตรงมาที่เรา เราอาจทำสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้กระดาษแข็ง บุด้วย Foil มุงหลังคา หรือ Foil ทำอาหารก็ได้  เอามาขวางไว้ระหว่าง WiFi Router กับตัวเรา  RF จะถูกสะท้อนไปด้านตรงข้ามแทน

คอมพิวเตอร์ Notebook จะมีผลกับเรา 3 อย่างคือ จาก LF ซึ่งมีความแรงมากบริเวณเหนือ Keyboard และหน้าจอ ยิงเสียบสายชาร์ทด้วย ยิ่ง LF แรง   RF จะแรงเมื่อมีการใช้ WiFi ของเครื่อง  และอย่างสุดท้ายคือ จากสนามแม่เหล็กซึ่งอยู่ใน Hard disk ปกติ Hard disk จะมีแม่เหล็ก Neodymium ซึ่งเป็นแม่เหล็กกำลังสูงอยู่  การวางมือสัมผัสเหนือแม่เหล็กกำลังสูงนานๆ ไม่ดีเท่าไรนัก  ดังนั้น การใช้ Notebook ถ้าจะให้ดี ควรหาซื้อ Keyboard แบบมีสายมาต่อ เพื่อให้มือเรา ไม่ต้องอยู่เหนือ Notebook โดยตรง และใช้ Mouse แยกต่างหาก แต่บอกล่วงหน้าว่า ถึงใช้ Keyboard และ Mouse แยกแล้ว เวลาใช้งาน ก็ไม่ควรเอามือวางบน Keyboard และ Mouse ตลอดเวลา ให้เอาไปวาง เวลาจำเป็นเท่านั้น และให้วาง Notebook ให้ไกลจากตัวให้มากที่สุด เท่าที่ยังมองเห็น ใช้งานได้  อย่าวางบนตักเด็ดขาด อย่านอนเล่น วางบนหน้าอก ถ้าไม่อยากเส้นเลือดหัวใจตีบตันเร็วก่อนวัยอันควร หรือ โรคอื่นๆอีกมากมายที่เป็นได้

คอมพิวเตอร์ Desktop เดี๋ยวนี้ ส่วนมากมี WiFi ในตัวด้วยถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มี WiFi คุณก็จะได้รับคลื่น LF เป็นหลัก แต่ถ้าเป็นรุ่นที่มี WiFi หรือใช้ Keyboard และ Mouse ไร้สาย ก็จะได้รับ RF แถมมาด้วย  การใช้คอมพิวเตอร์ Desktop ให้ปลอดภัยขึ้น คือ ควรต่อสาย Ground   ควรวางตัวเครื่องส่วนที่เป็น CPU ให้อยู่ห่างจากเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  สายไฟที่พะรุงพะรังมากมาย ให้เก็บไปให้ห่างตัว อย่าไปนั่งเหยียบสายไฟพวกนั้น  เวลาใช้คอมฯก็ อย่าวางมือแช่บน Keyboard และ Mouse ตลอดเวลา ให้ยกออก เอามือวางเฉพาะเวลาจะใช้

โทรศัพท์มือถือ ยังไงก็เลี่ยงการใช้ไม่ได้ แต่เราต้องรู้ว่า โทรศัพท์จะปล่อยคลื่นรุนแรงเวลาไหน  บางคนอาจเถียงว่า มีการทดสอบ กำหนดค่า SAR Value แล้ว มันก็ต้องปลอดภัย  มันไม่จริงหรอกครับ เพราะค่า SAR ที่เค้ากำหนดไว้ มันค่อนข้างสูง  และเค้าวัดเวลาใช้งานพูดคุย  แต่ อันตรายที่แรงๆของมือถือ มันมาจากเวลา WiFi และ Data ทำงานรับส่งข้อมูล ค่า RF จะขึ้นไปสูงมากเป็นระดับ ร้อยๆ mW/m2 เลย  ยิ่งบางคนไม่รู้ อยากประหยัดค่าโทรศัพท์ ใช้การโทรผ่าน Skype หรือ Line ซึ่งมันต้องใช้ WiFi หรือ Data และไม่ได้ใช้สายเสียบหูฟัง  ผมรับรองได้เลยว่า คนที่ใช้วิธีนี้ประจำ จะเป็นเนื้องอกในสมอง ในเวลาไม่นานนัก  เวลาที่ Data ทำงาน RF ที่ออกมาจะรุนแรงกว่า WiFi ทำงาน  ถ้าคุณเล่นมือถือแล้วรู้สึกตึงนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก คอ บ่า ไหล่ ปวดตา นั่นแหละครับ คุณโดน EMF เล่นงานแล้ว ถ้าคุณถือโทรศัพท์ไว้ระดับท้อง หรือท้องน้อย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอวัยวะสำคัญทั้งนั้น ก็อันตรายที่จะเกิดปัญหาในช่องท้อง เช่น มะเร็ง (WHO กำหนดให้ RF จากอุปกรณ์สื่อสาร อยู่ในกลุ่ม 2B คือมีความเสี่ยงอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้) ปัญหากับรังไข่ ในผู้หญิง หรือ การผลิตน้ำอสุจิ ในผู้ชาย อาจเป็นหมัน มีลูกยาก หรือผิดปกติทางพันธุกรรม ได้  ดังนั้น เวลาเล่นมือถือ ให้วางบนโต๊ะ อยู่ให้ห่างเท่าที่ทำได้ อย่าจับมือถือตลอดเวลาที่ WiFi หรือ Data ทำงาน  เวลาคุยโทรศัพท์ ถ้าต้องคุยนาน ควรใช้สายเสียบ ดีกว่าใช้ Bluetooth  ถ้าไม่มี ให้ถือโทรศัพท์ให้ห่างหูให้มากที่สุด เท่าที่คุยได้ยิน หรือเปิด Speaker จะได้ไม่ต้องเอามาแนบหู  เวลาไม่ใช้เน็ท ให้ปิดทั้ง WiFi และ Data แล้วค่อยพกใส่กระเป๋า จะปลอดภัยกว่าเปิดทิ้งไว้ ยกเว้นจะมีถุงกัน EMF ใส่

โทรศัพท์บ้านแบบไร้สาย อย่าใช้ครับ มันมีคลื่นออกมาค่อนข้างรุนแรงในบางรุ่น  เปลี่ยนไปใช้แบบมีสายแทน ปลอดภัยกว่า

LF จากสายไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้า และตู้เมนไฟฟ้า ทางเลี่ยงที่ดีที่สุด คืออยู่ห่างๆ ก็จะปลอดภัย  การจะอยู่ห่างๆได้ ก็แค่อาศัยการสังเกตุ ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ทีวี ตู้เย็น พัดลม มอเตอร์ ที่เป่าผม เรารู้แล้วก็อยู่ห่างๆได้ อย่างไดร์เป่าผม ก็อย่าถือใกล้ศีรษะนัก เพราะมันปล่อยทั้ง LF และ RF  สำหรับ LF จากสายไฟ เป็นอะไรที่ลึกลับพอควร เพราะ ถ้าสายไฟที่เรามองเห็น มันก็เลี่ยงไม่ยาก ปัญหาคือ สายไฟที่เรามองไม่เห็น ที่อยู่ในกำแพง ในฝ้าเพดาน หรือในพื้น  อย่างพวกสำนักงานที่วางแนวสายไฟไว้ในพื้น ถ้าแนวนั้นเป็นจุดที่คุณนั่งทำงาน และวางเท้าไว้พอดี คุณจะมีปัญหาเกี่ยวกับเท้าและขา ของคุณอย่างแน่นอน  บริเวณที่นอนเป็นอีกจุดที่สำคัญมาก สมมติที่นอนคุณอยู่ชั้น2 แล้วบังเอิญชั้นล่าง ตรงกับใต้ที่นอนของคุณ เป็นตู้เมนไฟของบ้าน ซึ่งลากสายซ่อนในกำแพงตรงขึ้นมาผ่านผนังบริเวณที่เตียงคุณนอนอยู่ เพื่อทะลุขึ้นไปถึงฝ้าเพดาน ก่อนที่จะกระจายไปห้องอื่น  ถ้าคุณมีเครื่องวัด EMF คุณจะพบว่า ผนังห้องด้านนั้นจะมีค่า LF แผ่ออกมาอย่างแรง อาจกระจายออกไปไกลเป็นเมตรเลย  อีกอย่าง ค่า LF ของแต่ละจุดจะเปลี่ยนไปขึ้นอยุ่กับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าของแต่ละจุดด้วย  ถ้ามีเครื่องวัด ก็ต้องละเอียด และวัดเมื่อเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหลาย เหมือนสภาพใช้งานจริง ค่อยลองวัด หรือวัดหลายๆเวลา ก็จะพบว่า แต่ละช่วงเวลา มีค่า LF เกิดขึ้นไม่เท่ากัน

สำหรับ EMF จากรถยนต์  ถ้าไม่มีเครื่องวัด คงยากที่จะตัดสินว่า รถรุ่นที่สนใจ หรือใช้อยู่ มีค่า EMF สูงเป็นอันตรายหรือไม่  อาจจะสังเกตได้ง่ายๆโดยดูใต้คอนโซลด้านคนขับ ถ้ามีสายไฟเยอะๆ มีกล่องฟิวส์อยู่ด้านนั้น ก็น่าจะมีค่า EMF สูง  ถ้ารถรุ่นไหน ก้มมองดูแล้ว ไม่ค่อยมีสายไฟแถวใต้พวงมาลัย กล่องฟิวส์อยู่ด้านซ้าย  สายไฟถูกจัดระเบียบไปอยู่ไกลจากขา และเข่าของเรา ก็จะปลอดภัยกว่า  อีกอย่างครับ คือ Cross over ของลำโพงแยกชิ้น ปล่อย RF ออกมาค่อนข้างมาก เท่าที่วัดดู เกินระดับความปลอดภัย ถ้าจะติด ก็อย่าให้อยู่ใกล้ตัว และอย่าให้ร้านเครื่องเสียง เดินสายไฟใต้พรมบริเวณที่เราวางเท้า  รถยนต์รุ่นใหม่ๆมีเครื่องเสียงที่ปล่อยสัญญาณ WiFi และ Bluetooth ได้ อยากเตือนว่า ถ้าไม่อยากป่วยอย่างไม่ทราบสาเหตุก็ให้ปิดทิ้งไปเลยอย่าเปิดทิ้งไว้ การปล่อยสัญญาณ Wifi ในรถยนต์ คลื่นจะสะท้อนอยู่ในรถแรงกว่าปกติ เพราะตัวถังรถเป็นโลหะ และมีฟิลม์กรองแสงด้วย คุณจะอ่อนเพลีย และเสียสุขภาพมาก กับการขับรถที่มีระดับ EMF สูง  รถบางรุ่นก็มีแบตเตอรี่ซ่อนอยู่ใต้ที่นัง คุณก็จะได้รับคลื่นผ่านที่นั่งขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว

เมื่อเราทำงานกับคอมฯ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้านานๆ ร่างกายจะเกิดการสะสมของประจุไฟฟ้า ทำให้เรารู้สึกไม่ค่อยสบาย เราต้องพยายาม Ground ร่างกาย เช่นไปอาบน้ำ หรือ ไปยืนบนสนามหญ้าที่เปียกชื้นเท้าเปล่า ถ้าฉีดน้ำบริเวณรอบๆสนามหญ้า จะช่วยทำให้ Air ion บริเวณนั้นมีประจุลบ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เราสดชื่น ฟื้นตัวได้ดีขึ้น ถ้าทำเป็นประจำ จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น เพราะลดการสะสมของประจุไฟฟ้าในร่างกาย

สุดท้าย การป้องกันเฉพาะตัว มีเสื้อผ้า มุ้ง ผ้า ที่ป้องกัน RF ได้ สามารถหาซื้อทางเน็ทจากต่างประเทศมาใส่ เพื่อลดปริมาณ EMF ที่จะเข้าไปสู่ร่างกายเราได้ครับ ลอง Google หาดู  ผ้าพวกนี้ จะใช้ Nano technology ฝังละอองโลหะ พวก เงิน หรือ โครเมียม ลงไปในเส้นใย แล้วเอามาทอเป็นผ้า ทำให้เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยพวกนี้ สามารถกันคลื่น RF ได้ดีครับ

เกือบลืมบอกอีกอย่าง พวกช่างเชื่อมโลหะที่ใช้ไฟฟ้าเชื่อมน่ะครับ เวลาเชื่อมเค้าคิดว่ามีแต่ UV ที่ต้องป้องกัน เค้าเลยกันแต่หน้า และแขน แต่เค้าไม่ได้กันระหว่างขา เพราะเค้าไม่รู้ว่ามันมี EMF อื่นออกมาด้วยรุนแรง  ส่วนมากพวกนี้เป็นหมันกันครับ ผมละสงสารน้องๆที่เรียนช่างเชื่อม ที่จะต้องเป็นหมันกัน เพราะไม่มีใครบอกให้ป้องกัน  ถ้าจะเรียนจริงๆก็หา กระจับนักมวยที่เป็นอลูมิเนียมแบบทึบ มาใส่ป้องกันซะหน่อยนะครับ ถ้าจะให้ดี ก็ควรใส่ชุดป้องกัน EMF เพิ่มด้วย ฝากเตือนด้วยครับ

3 ความคิดเห็น: